วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กินมะเขือเทศอย่างไร ไลโคปีนสูง (Lycopene)

                    

                         ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารสำคัญที่พบได้ในผลมะเขือเทศ จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่ง ใน 600 ชนิด พบไลโคปีนได้ใน มะเขือเทศ และผลไม้    บางชนิด เช่น แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ เป็นต้น

                    ไลโคปีน เป็นสารประกอบที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีรายงานว่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง ที่อวัยวะต่าง ๆ ที่ชัดเจนที่สุด คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก รองลงมา คือ มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร นอกจาำำกนั้นก็ยังช่วยลดความเสี่ยงในมะเร็งอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น ตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก คอหอย ช่องปาก เต้านม และ ปาก

                    ความเชื่อที่ว่าของสดดีกว่าของที่ปรุงแล้ว ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป   ในกรณีของมะเขือเทศนั้น เป็นหนึ่งในข้อยกเว้น เพราะมะเขือเทศที่ผ่านความร้อน จะทำให้การยึดจับของไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลง ทำให้ไลโคปีน ถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่า  นอกจากนี้ ความร้อนและกระบวนการต่าง ๆ ในการผลิต ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ ยังทำให้ไลโคปีน เปลี่ยนรูปแบบ จากไลโคปีน ชนิด “ออลทรานส์” (all-trans-isomers) เป็นชนิด “ซิส” (cis -isomers) คือ เป็นชนิดที่ละลายได้ดีขึ้น 

                    โดยทั่วไป ปริมาณไลโคปีนในผลไม้และมะเขือเทศสด จะไม่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อนำมะเขือเทศสดไปผ่านกระบวนการผลิต ให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์มะเขือเทศชนิดต่าง ๆ พบว่าปริมาณไลโคปีนสูงขึ้นมาก เนื่องจากมีการผ่านกระบวนการ ทำให้เข้มข้นขึ้น ดังนั้น อาหารอิตาเลียน พวกพิซซ่า สปาเก็ตตี้ ที่มีการแต่งรสด้วยซอส ที่ผลิตจากมะเขือเทศ จึงเป็นแหล่งให้ไลโคปีนที่ดี 
แสดงปริมาณไลโคปีนตามลำดับผลิตภัณฑ์ (มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม)


             มะเขือเทศสด   0.88 - 4.20
             มะเขือเทศปรุงสุก   3.70
             ซอสมะเขือเทศ   6.20
             ซุปมะเขือเทศเข้มข้น   7.99
             น้ำมะเขือเทศ   5.00 - 11.60
             ซอสพิซซ่า   12.71
             มะเขือเทศผง   112.63 - 126.49
             ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น   5.40 - 150.00


                   นอกจาก วิตามินซีที่มีสูงในมะเขือเทศแล้ว วิตามินอื่น ๆ ก็มีอยู่ครบทุกชนิด แถมเปลือกนอกของมะเขือเทศยังมีสารชนิดเดียวกับที่พบในเปลือกองุ่นแดง ที่เชื่อว่ามีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย หากรับประทานบ่อย ๆ ยังช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่น ชะลอความชรา หรือ นำมะเขือเทศสุกมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ แปะไว้บนใบหน้า จะช่วยทำให้ใบหน้าเปล่งปลั่งผิวสวยสดใส
  
ที่มา : ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต    

     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น